วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

บทที่  8  ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

             AS/RS   คือ …วิธีการควบคุมทางคอมพิวเตอรสําหรับการเก็บและการนำเอาสินค้าหรือ

ผลิตภัณฑ์ออกมาจากที่เก็บ...


          วัตถุประสงค์ของ AS/RS 

      -  ทําหนาที่สนับสนุนการจัดการคลังสินค้าโดยทําใหเกิดการจัดเก็บหรือนําผลิตภัณฑออกมาอย่างมี

ประสิทธิภาพมากที่สุดในดานความรวดเร็ว ความถูกต้อง การลดจํานวนคนงาน

      -  เพื่อใหมีขอมูล  ณ.  เวลาปจจุบัน(Real time) เพื่อนําไปใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการคิด

ต้นทุนและงานดานบัญชีภายในโรงงาน-เนื่องมาจาก การเก็บสินคาและการนําผลิตภัณฑไปใชถูกติดตาม

ในรูปแบบอีเลคโทรนิค

        ชนิดของ   AS/RS (Type of AS/RS)

         -   ลึกแถวเดียวจะมีคุณลักษณะคลายๆ กับแถวเดียวใน APR กับแถวแบบแคบ จะมีพาเล็ต สองแถว

ซ้อนหลังชนหลังในระหวางแถวทางเดิน เครนยกตั้งจะเข้าถึงไดลึกหนึ่งแถวจากฝ่งใดฝ่งหนึ่ง

         -   ลึกสองแถวก็จะคลายคลึงกับคุณลักษณะของชั้นวางแถวลึกสองเทาเชนกัน ในกรณีจะมี พาเล็ต 

สี่แถวอยู่ในชั้นวางในระหวางแถวทางเดิน และเครนยกต และเครนยกตั้งจะถูกออกแบบมา พิเศษให้หยิบ

  ลึกเขาไปในชั้นวางไดสองแถวโดยปกติแลวเครนจะเขาถึงไดทีละพาเล็ต (เหมือนกับรถเอื้อมหยิบลึก

สองเทา)   แต AS/RS บางแหงมีแถวทางเดินกวางเปนสองเทา   และสามารถเข้าถึงพาเล็ตไดทีละสอง

พาเล็ต  แบบหลังนี้จะช่วยเพิ่มผลิตผลของงานในช่วงระยะเวลาหน วงระยะเวลาหนึ่งๆ  แต่จะใช้พื้นที่เพิ่ม

เติม
        -   ระบบความหนาแน่นสูง  มีระบบจัดเก็บอัตโนมัติที ่จัดเก็บได้หนาแน่นมากหลายแบบให้เลือก

ในตลาด   ระบบหนึ่งในจำนวนนั้นคือเครนลูกข่าย (satellite crane) satellite crane) ที่เครนยกตั้งแต่ละตัว

จะมีลูกข่ายที่สามารถเคลื่อนที่ออกจากเครนไดตามรางทีอยู่ใตชองของของพาเล็ต และวางพาเล็ต  ลง

บนชั้นหรือวางพาเล็ตกลับมาที่เครนได้ ชั้นวางพาเล็ตอาจติดตั้งให้ลึก  10 แถว ใหชุดลูกขายสามารถเติม  
พาเล็ตได 10 พาเล็ตในชองของชั้นวาง  ดังนั้นเราจะได้มี  20  พาเล็ตซอนหลังชนหลังกันระหวางแถว

ทางเเดินแตละแถว  ระบบแบบนี้เปนระบบที่จัดเฏ้บได้หนาแน่นมาก  แตจะทํางานตามหลัก LIFO สําหรับ

แต่ละข่องที่มี  10 พาเล็ต ระบบที่เป็นทางเลือกอื่นๆ ยังรวมถึงการใชชั้นวางแบบไหลได้ ซึ่งอาจจะไหล

ตามแรงดึงดูดหรือไหลตามพลังงานกลที่ใสเขาไป โดยมีเครนยกตั้งใส่พาเล็ต เข้าที่ด้านหนึ่งและดึงพา

เล็ตออกจากอีกดานหนึ่งเพื่อที่จะรักษาระบบ FIFO ไว้

การทำงานของระบบจัดเก็บในคลังสินค้าที่มีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 

การจัดเก็บวัสดุการเบิกจ่ายวัสดุรวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย

1. รับ/ เบิกสินค้าแบบ FIFO
 
2. ทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ


 3. ลดการใช้แรงงานคน


4. ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

       ส่วนประกอบของ  AS/RS  ( AS/RS  Components)


           -    ชั้นวางของ

           -    อุปกรณ์หยิบหรือจัดเก็บผลิตภัณฑ์   (S/R machine, crane,หรือ robot arm)

           -    ระบบ input/output 

           -    ระบบควบคุม (control system)

    ประเภทของระบบ AS/ RS แบ่งออกเป็ นแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. Unit load AS/ RS 

1.1 ขนถ่ายวสัดุที่เป็น Pallet, ภาชนะบรรจุ, ถุง หรือกล่องต่าง ๆ (Package) ที่มีขนาด มาตรฐาน

1.2 ระบบ AS/ RS แบบ Unit load จะทำงานที่น้ำหนักของวสัดุต่อ1 หน่วย มีค่าตั้งแต่ 1,000 ปอนด์ขึ้นไป 1.3 

แต่ละช่องวิ่ง (Aisle) จะมี S/ R Machine ที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามรางและมีระบบเลื่อนสำหรับรับ-ส่งวัสดุไปยัง

พื้นที่จัดเก็บ

 1.4 ระบบประกอบไปด้วยการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์, S/ R Machine ที่จะเคลื่อนที่ ไปตามรางและมีระบบ

เลื่อนสำหรับรับ-ส่งวัสดุ

1.5 เป็นระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่






2. Deep - Lane AS/ RS 
2.1 ใช้กับการจัดเก็บที่มีความหนาแน่นสูง มีปริมาณสินค้าคงคลังสูงแต่ชนิดของ สินค้า (SKUs) น้อย
2.2 การทำงานค่อนข้างคล้ายกับระบบ Unit - Load แต่ใน 1 ช่องจัดเก็บมีความลึก สามารถจัดเก็บได้มากกว่า 1 หน่วย
2.3 ชั้นวางมีการออกแบบให้น้ำหนักบรรทุกไหลเข้าไป (Flow - Through Designed) โดยแต่ละ Rack ออกแบบให้ Flow - Through การจัดเก็บวัสดุทำงานด้านหนึ่งการรับวัสดุจะทำงาน อีกด้านหนึ่ง
2.4 การออกแบบ S/ R Machine จะเข้าไปยังจุดจัดเก็บ โดยการส่งพาหนะเข้าไปในชั้น วางตามความลึกที่ต้องการ (Rack - Entry Vehicle) วางวัสดุลงและกลับมายังS/ R Machine
2.5 สามารถเก็บ Load ได้ 10 หรือมากกวา่ ใน Single Rack



3. Miniload AS/ RS

3.1 ใช้สำหรับการขนถ่ายวัสดุที่มีขนาดบรรทุกน้อย ๆ เช่น ชิ้นส่วนจะมีการบรรจุวัสดุหรือสินค้าหลายชนิดใน 1 ภาชนะบรรจุ (Container) ใช้กับ Load ขนาดเล็กซึ่งบรรจุในถังเก็บภายในระบบจัดเก็บ
3.2 น้ำหนักของวัสดุต่อหนึ่งภาชนะบรรจุ มีค่าต่า กว่า 750 ปอนด์ มีความหนาแน่นของการจัดเก็บสูง
3.3 โดยทั่วไปจะติดตั้งในอาคารที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว มีขนาดที่ความสูงไม่เกิน 30 ฟุตลักษณะและขนาดของภาชนะบรรจุขึ้นอยู่กับการจัดเก็บในแต่ละสถานที่
3.4 ระบบการทำงาน S/ R Machine จะทำการเคลื่อนที่รับ-ส่ง ลังหรือกล่องไปที่จุดรับ-ส่ง
3.5 ชิ้นส่วนหรือสิ่งของที่อยู่ในลังจะสามารถหยิบออกไปเพียงบางชิ้นหรือทั้งหมดก็ได้
3.6 ในระบบ Mini - Load ที่จุดรับ-ส่ง มีคนงานที่ทำหน้าที่การรับและส่งวัสดุจากS/ R Machine




4. Man - On - Board AS/ RS หรือ Manaboard AS/ RS
4.1 ระบบ Man - On - Board หรือที่เรียกว่า Man - Aboard เป็นการแก้ปัญหาความต้องการ การรับวัสดุแบบเจาะจงจากการจัดเก็บ
4.2 ในระบบนี้ผู้ทำงานจะควบคุมอยู่บน S/ R Machine ใช้คนในการขับเคลื่อน S/ RMachine มีการหยิบวัสดุแต่ละชิ้นจากตำแหน่งที่เก็บได้โดยตรง
4.3 ความแตกต่างกับระบบ Mini - Load คือ ไม่จำเป็นต้องนำลังหรือกล่องออกมายังจุดรับ-ส่ง แล้วนำเข้าไปเก็บ แต่ผู้ทำงานสามารถหยิบสิ่งที่ต้องการออกมาจากจุดจัดเก็บได้ในทันทีซึ่งหมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเวลาการทำงาน

5. Automated Item Retrieval System
5.1 ระบบแบบ Automated Item Retrieval มีการออกแบบให้สามารถรับวัสดุเฉพาะโดยใช้การทำงานออกแบบชั้นวางแบบ Flow - Through ให้การจัดเก็บวัสดุทางด้านหลัง และรับวัสดุออกทางด้านหน้า ด้วยการผลักบนชั้นวางแบบ Flow - Through ให้วัสดุไหลไปบนสายพานลำเลียง
5.2 การจัดเก็บสามารถทำงานได้แบบ FIFO
5.3 ใช้สำหรับวัสดุเป็นชิ้น ๆ หรือ Load ที่มีขนาดเล็กที่เก็บในกล่อง





6. Vertical lift storage systems (VL-AS/ RS)
6.1 ระบบ Vertical Lift Storage Systems หรือ Vertical Lift Automated Storage/Retrieval Systems (VL-AS/ RS) แตกต่างจาก AS/ RS ทั่ว ๆ ไปที่ออกแบบไปตามแนวขวาง
6.2 VL-AS/ RS ออกแบบไปในแนวดิ่งให้ระบบมีความสูงมากเพื่อรองรับกับลักษณะของสินค้า โดยทั่วไปสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้ปริมาณมาก แต่ใช้พื้นที่น้อย
6.3 ใช้หลักการเหมือนแบบอื่น ๆ คือ เข้าไปรับ Load ตามช่องทางตรงกลาง ยกเว้นมันมีช่องทางในแนวตั้ง
6.4 สามารถเก็บพัสดุขนาดใหญ่ได้
6.5 ระบบนี้ช่วยประหยัดพื้นที่ว่างบนพื้นโรงงาน















วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

บทที่  7   ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

              ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน 

(Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง 

 หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบ

สายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน


           ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบ

สายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต



ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

      ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray 

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)
ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น …

ตัวอย่างสายพานลำเลียงอาหาร

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System


ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง




           

                         ระบบ Automated  Guided Vehicle System ( AGV)         ในโรงงานอุตสาหกรรม

      AGV (Automated Guided Vehicle) คือ รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติโดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือ

เลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรม/โรงงาน/คลังสินค้า ไว้

ลำเลียงสินค้า/ชิ้นงาน จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ปัจจุบัน AGV เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจาก AGV ช่วย

เพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน ลดข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงงานคน 

ข้อดี 

- รถ AGV สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ

 - รถ AGV ทํางานได้ตรงเวลา ไม่ต้องการเวลาหยุดพัก และไม่ลาหยุดหรือลากิจ

 - รถ AGV ลดความผิดพลาดจากคน เช่น การขับเฉี่ยว ชน ที่เกิดจากความประมาท

 - รถ AGV ลดความล่าช้าของการส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากพนักงานขับ และการจราจรในโรงงาน

 - รถ AGV สามารถรับน้ําหนักได้มาก จึงลดความเมื่อยล้าจากพนักงานเข็นขนส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ -

   รถ AGV ลดปัญหามลพิษในโรงงาน เนื่องจากใช้แบตเตอร์รี่

 - รถ AGV สามารถลดค่าใช้จ่ายจากค่าแรงงานและค่าบํารุงรักษารถขนส่ง (โฟล์คลิฟท์) เป็นต้น

 การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

 1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV

2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV

3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง

 4) การเพิ่มความจุของรถ AGV


     ซึ่งแต่ละวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของรถ AGV จะมีข้อจำกัดในตัวเอง เช่น 

การเพิ่มจำนวนรถ AGV จะต้องมีการลงทุนสูง เกิดความแออัดในระบบมากขึ้น การเพิ่มความเร็วของรถก็

เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ แต่อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมความปลอดภัย ในการทำงาน

 การเปลี่ยนแปลงทิศทางการวิ่งจากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง ก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการ ออกแบบ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ ในการควบคุม ส่วนการเพิ่มความจุบน รถ AGV ถึงแม้ จะต้องลงทุนบ้าง

แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถที่จะทำได้

      จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของรถ AGV แต่การ เพิ่ม

ประสิทธิภาพของรถ AGV เป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบการผลิต การจะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการ

ผลิตนั้นระบบการขนส่งชิ้นงานก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การเลือกวิธีการ ขนส่งของรถ AGV ไม่ว่าจะเป็นวิธี

การหยิบชิ้นงานหรือการวางชิ้นงานจะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากการเลือกวิธีการหยิบ

และ การวางชิ้นงานที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถลด ระยะเวลารอคอยของชิ้นงาน และยังสามารถ

ป้องกันการเกิดคอขวดตามสถานีต่าง ๆ ได้อีกด้วย
  
                    AGV  ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมีหลาย  ดังนี้


        AGV แบบบรรทุก  เหมาะสำหรับการขนย้ายสิ่งของโดยบรรทุกไว้บนตัวรถ หรือสามารถนำไปใช้เป็น

สถานีสำหรับประกอบงาน


        AGV แบบลากจูง    เหมาะสำหรับการนำรถเข็นมาต่อพ่วงเพื่อลากจูง



       AGV แบบเกี่ยวลาก (ลอดใต้) เหมาะสำหรับการลอดใต้ไปเกี่ยวลากรถเข็นเพื่อไปส่งยังจุดต่างๆ


รถ AGV ในโรงงานอุตสาหกรรม


วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทที่ 6 หุ่นยนต์อุตสาหกรรม



บทที่ 6  หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

                                                                       หุ่นยนต์คืออะไร



หุ่นยนต์หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การ ควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวง จันทร์ดาวเคราะห์ที่ ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการ แพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
ส่วนประกอบของหุ่นยนต์
ในหุ่นยนต์หนึ่งตัวจะประกอบด้วยอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆมากมาย ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดนั้นจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน การเลือกใช้จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจรวมถึงความเหมาะสม เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว คงทน และประหยัดพลังงาน
หุ่นยนต์จะแบ่งส่วนประกอบใหญ่ๆ เป็น 4 ส่วน ได้แก่
1.อุปกรณ์ทางกล แมคคานิค (mechanic)
2.อุปกรณ์ขับเร้า แอคชูเอเตอร์ (actuator)
3.อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ (electronic)
4.อุปกรณ์ควบคุม คอนโทรลเลอร์ (controller)

หุ่นยนต์ มีกี่ประเภท?
     แบ่งตาม ลักษณะการใช้งาน 
     1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 
  





    2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภท นี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้อง ทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่าปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่ หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่าง มนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต
                                                             หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบใช้แบบขา


                                                       หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบใช้ล้อ





การแบ่งประเภทตามลักษณะรูปร่างภายนอก 

  โดยทั่วไป หุ่นยนต์ยังถูกจำแนกตามลักษณะรูปลักษณ์ภายนอก และมีคำศัพท์เฉพาะเรียกต่างๆกันไป ได้แก่
·    หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid Robot) เป็นลักษณหุ่นยนต์ที่เหมือนกับมนุษย์
·    แอนดรอยด์ (Android) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่สามารถแสดงออกเหมือนมนุษย์ แม้ว่ารากศัพท์ภาษา      กรีกของคำนี้หมายถึงเพศชาย แต่การใช้ในบริบทภาษาอังกฤษมักไม่ได้มีความหมาย เจาะจงว่าเป็นเพศใด
·   จีนอยด์ (Gynoid) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์เพศหญิง
·   อ็คทรอยด์ (Actriod) เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เช่น กระพริบตา หายใจ เริ่มพัฒนาโดยมหาวิทยาลัย     โอซาก้าและบริษัทโคโคโระ
·  ไซบอร์ก (Cyborg) เป็นหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิต หรือ ครื่งคนครึ่งหุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในเรื่องแต่งปี 1960
·  นาโนโรบอท (Nanorobot) เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 0.5-3 ไมครอน


ประโยชน์และ ความสามารถของหุ่นยนต์
ความสามรถใน ด้านการแพทย์
     ในงานด้านการแพทย์ เริ่มนำเอาหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยทำการผ่าตัดคนไข้ เนื่องจากหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานในด้านที่มีความละเอียดสูงที่เกินกว่า มนุษย์จะทำได้ เช่น การนำเอาหุ่นยนต์มาใช้งานด้านการผ่าตัดสมอง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องการความละเอียดในการผ่าตัด หุ่นยนต์แขนกลจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการผ่าตัดในด้านการแพทย์ การทำงานของหุ่นยนต์แขนกลในการผ่าตัด จะเป็นลักษณะการทำงานของการควบคุมการผ่าตัดโดยผ่านทางแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด อีกที ซึ่งการผ่าตัดโดยมีหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมนั้นจะเน้นเรื่องความ ปลอดภัยเป็นอย่างสูง รวมทั้งความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ รวมถึงงานเภสัชกรรมที่มีบางโรงพยาบาลนำหุ่นยนต์มาใช้ในการจ่ายยา 
ข้อดีของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
·      แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
·      ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
·      ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลไม่สูงมาก เนื่องจากใช้เวลาพักฟื้นระยะสั้น โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 2-3 วันหลังจากการผ่าตัด
·      ลดการมือสั่นจากการเมื่อยหล้าจากการผ่าตัดของศัลยแพทย์
ข้อจำกัดหรือข้อเสียหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
·      ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดค่อนข้างสูง เนื่องจากตัวหุ่นยนต์มีราคาแพงประกอบกับค่าบำรุงรักษาสูง
·      ศัลยแพทย์ที่ใช้หุ่นยนต์ต้องได้รับการฝึกฝนและอบรมมาจนเชี่ยวชาญถึงสามารถใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดได้
·      ศัลยแพทย์จะขาดความรู้สึกอ่อน แข็งจากการสัมผัสเนื้อเยื่อที่เป็นโรคกับเนื้อเยื่อปกติ

ความสามารถ ในงานวิจัย
     หุ่นยนต์สามารถทำการสำรวจงานวิจัยทาง ด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับมนุษย์ เช่น ที่มีความลึกเป็นอย่างมาก หรือการสำรวจบริเวณปากปล่องภูเขาไฟเพื่อ เก็บบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานเสี่ยงอันตรายที่เกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์ที่ไม่สามารถ ปฏิบัติงานสำรวจเช่นนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานวิจัยและสำรวจ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารถทำการควบคุมหุ่นยนต์ได้ใน ระยะไกลด้วยระบบคอนโทรล โดยมีเซนเซอร์ติดตั้งที่ตัวหุ่นยนต์
เพื่อใช้ในการวัดระยะทางและเก็บข้อมูลใน ส่วนต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์


ความสามารถ ในงานอุตสาหกรรม
     หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มจำนวนสูงขึ้น และงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัด ระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม


ความสามารถ ในด้านความมั่นคง
     สร้างเครื่องบินสอดแนมผู้ก่อการร้าย โดยติดตั้งเรดาร์คอยตรวจจับเหตุที่อาจไม่มาพากล โดยไม่ต้องใช้คนขับ





ความสามารถ ในด้านบันเทิง
     หุ่นยนต์ประเภทนี้ได้รับการพัฒนาให้ สามารถตอบโต้กับคนได้เสมือนเป็นเพื่อน เล่นหรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีในรูปแบบของสุนัข แมว และแมลง เป็นต้น



ความสามรถใน งานครัวเรื่อน
     เป็นผู้ช่วยในการทำความสะอาดบ้าน



ข้อดี

1.    ทำหน้าที่ดูดฝุ่นได้ดีมาก อาจจะดีกว่าฝีมือมนุษย์เองด้วยซ้ำ
2.    ทำความสะอาดฝุ่นใต้เตียงที่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรืออาการจามระหว่างนอนหลับ
3.    ใช้งานง่าย รวมถึงทำความสะอาดถังใส่ฝุ่นและแผ่นกรองฝุ่นได้ไม่ยาก โดยใช้เวลาเพียงแค่ 2 นาที(แบบไม่รีบ)
4.    ผนังจำลอง (Virtual wall lighthouse) ทำงานได้ดีและแม่นยำ
5.    ปล่อยให้ Roomba 880 ทำงานไปได้ โดยที่เราไม่ต้องนั่งเฝ้า และยังตั้งแผนการทำงานรายอาทิตย์ได้ด้วย
6.    ลดจำนวนฝุ่นในห้องได้อย่างมหาศาล วัดผลได้จากการใช้งานใน 2-3 ครั้งแรก คุณอาจจะต้องเทถังเก็บฝุ่นทุกๆ 15 นาที
7.    เสียงเงียบกว่าเครื่องดูดฝุ่นทั่วไปๆมาก
8.    แบตเตอรี่อยู่ได้นานถึง 3.5 ชั่วโมง โดยไม่ต้องกลับไปชาร์จอีกครั้ง
9.   ทำความสะอาดพื้นดูดเศษฝุ่น เศษผง รวมถึงเศษผมที่มีความยาวได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค
              ข้อเสีย                                    
1.   ไม่มีเสียงเตือนเมื่อถังเก็บฝุ่นเต็ม
2.   ไม่สามารถหยุดชั่วคราวขณะเข้าโหมดทำความสะอาดได้ ถ้ากดหยุดแล้วกดปุ่ม Clean ใหม่ iRobot 880 จะเริ่มทำความสะอาดใหม่
3.   ป้องกันไม่ดูดสายไฟขนาดทั่วไป แต่สายไฟขนาดเล็กเช่นสายชาร์จ iPhone/iPad/Macbook อาจทำให้ iRobot 880 สับสน รวมถึงถุงเท้า ของเล่นเด็กขนาดเล็ก
4.   คู่มืออธิบายเฉพาะการเริ่มต้นใช้งาน หากต้องการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ใช้จำเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้จากประสบการณ์การใช้ด้วยตัวเอง